บาร์โค้ด มีไว้ทำไม? ใครเป็นคนกำหนด?
เคยสังเกตสัญลักษณ์แถบสีดำ เป็นเส้นตรงหนาบางหลายๆ เส้น และตัวเลขเรียงกันมากมาย บนกล่องเครื่องสำอางไหมคะ ที่เราเรียกว่า “บาร์โค้ด” แล้วแถบสีดำกับตัวเลขบอกอะไรเราบ้าง วันนี้ BKK PAPER BOX มีคำตอบมาฝากค่ะ
บาร์โค้ด คืออะไร?
บาร์โค้ด (Barcode) หมายถึง เลขหมายประจำตัวสินค้า ใช้แทนด้วยแท่งบาร์ขาว-ดำ ประกอบด้วยตัวเลข 8-13 หลัก สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ นิยมใชักับสินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกชนิด และสินค้าสำเร็จรูปต่างๆ
บาร์โค้ดบอกข้อมูลอะไร?
ประเทศไทยไทยเริ่มใช้บาร์โค้ดอย่างจริงจังในปี 2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย “Thai Article Numbering Council” หรือ “TANC” เป็นองค์กรตัวแทนของ”EAN” ดังนั้นผู้ผลิตจะใส่ตัวเลข 13 หลักเองไม่ได้ ต้องยื่นขอจดจากสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทยเสียก่อน ทั้งนี้ ระบบ EAN ที่ประเทศไทยใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นเลขชุด 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้

บาร์โค้ดมีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างไร?
ผู้ผลิต
- สามารถใช้เลขหมายในการค้าขายทั่วโลก
- ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า
- ได้ข้อมูลยอดขาย และส่งเสริมการขายได้รวดเร็ว
- ควบคุมการขายได้ดี ป้องกันสินค้าขาด
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ทั้งระบบในการติดต่อค้าขายกับผู้อื่น
ผู้ค้าส่ง- กระตุ้นทั้งระบบให้รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น
- การสั่งซื้อสินค้า
- การรับ-ส่งสินค้า
- ควบคุมสินค้าคงคลังได้ทันท่วงที
ผู้ค้าปลีก- ป้องกันการติดราคาผิด
- เก็บเงินได้เร็วขึ้น
- ทำให้ใช้ประโยชน์กับเนื้อที่ได้สูงสุด
- ทำให้การทำงานง่ายและรวดเร็ว เช่น การปรับเปลี่ยนราคา
- ประหยัดแรงงานในการให้พนักงานเปลี่ยนราคาและติดราคา
- ให้ข้อมูลกับฝ่ายบริหารได้มากขึ้น
- บริการลูกค้าได้ดีขึ้น
ผู้บริโภค
- ป้องกันการผิดพลาดเวลาชำระเงิน
- ได้รับบริการเร็วขึ้น
- ช่วยตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้
จะเห็นได้ว่า บาร์โค้ดสามารถบอกรายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกิจแต่มีผู้ผลิตบางรายสกรีนบาร์โค้ดลงบนกล่องบรรจุภัณฑ์ ซึ่งตัวเลขที่แสดงกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์นั้นไม่สัมพันธ์กัน ดังนั้น หากคุณคือ ผู้ผลิตและต้องการทำบาร์โค้ดผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อได้ที่เจ้าหน้าที่งาน Barcode & EDI สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ www.gs1th.org ข้อมูลจาก สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย